ฟังก์ชันของ PHP
ฟังก์ชันคือ โปรแกรมย่อยที่สามารถประมวลผล และ คืนผลลัพธ์จาการประมวลผลนั้นสู่โปรแกรมหลักได้ ซึ่งจำเป็นในการเขียนโปรแกรมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สูงขึน้โดยฟังก์ชันของ PHP มี 2 ส่วน คือ
- ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึน้ มาเอง
- ฟังก์ชันที่มากับ PHP (สามารถเรียกใช้งานได้ทันที)
ชื่อของคลาสและฟังก์ชันที่ผู้ใช้ทำการกำหนดเอง ตลอดจน constructs และ keywords ต่าง ๆเช่น echo, while, class เป็นต้น มีคุณสมบัติเป็นแบบ case-insensitive ตัวอย่างเช่น echo,ECHO, EcHo
แต่ในทางกลับกัน ชื่อตัวแปรต่าง ๆ นัน้ PHP จะมองเป็น case-sensitive ตัวอย่างเช่น $name,$NAME และ $NaMe
ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง
ผู้ใช้สามารถสร้างฟังก์ชันขึน้ มาใหม่ ทำได้โดยง่าย โดยอาศัยโครงสร้างพืน้ ฐานตัวแปร ค่าคงที่ โอเปอเรเตอร์ และการควบคุมโปรแกรมที่กล่าวมาแล้ว มาใช้ใน
การสร้างฟังก์ชัน สำหรับฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึน้ มาเอง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
- ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง - ไม่มีการส่งระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดชื่อและขัน้ ตอนการทำงานของฟังก์ชันไว้ที่ต้นของโปรแกรมก่อน หลังจากนัน้ สามารถเรียกใช้งานได้ทันที รูปแบบการสร้างฟังก์ชันมีดังนี้
function functionName(){
instructions;
}
functionName(); //เรียกใช้งาน
ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง - ตัวอย่างฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งระหว่างฟังก์ชัน
<?php
function Contact(){
echo “TEST 0123456789”;
}
Contact();
?>
TEST 0123456789
ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง - มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
function functionName(parameter){
return (instructions);
}
functionName(parameterValue); //เรียกใช้งาน
ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง - ตัวอย่างฟังก์ชันที่มีการส่งระหว่างฟังก์ชัน
<html><body>
<?php
echo"จะแทรกไว้ส่วนบนของ Function ก็ได้ <br>";
echo circle_area(5);
function circle_area($radius){
return M_PI*$radius*$radius;
}
?>
<br><br>หรือจะแทรกไว้ส่วนล่างของ Function ก็ได้<br>
<?php echo circle_area(5); ?>
</body></html>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น