ฟังก์ชั่น date()
ฟังก์ชั่น date() จะส่งค่าของวันเวลากับมาในรูปแบบของข้อมูลชนิด string ตามรูปแบบที่กำหนด รูปแบบเป็นดังนี้ date(สตริง[,timestamp])
ตัวอักษร ผลลัพท์ที่แสดงออกมา
a หน่วยของเวลาแบบตัวพิมพ์เล็ก นั่นคือ "am" หรือ "pm"
A หน่วยของเวลาแบบตัวพิมพ์ใหญ่ นั่นคือ "AM" หรือ "PM"
d วันที่ โดยมีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "01" ถึง "03"
D ชื่อวันในสัปดาห์ เฉพาะตัวอักษร 3 ตัวแรก เช่น "Sun","Mon" ฯลฯ
F ชื่อเต็มของเดือน เช่น "January" , "Febuary" เป็นต้น
g เลขชั่วโมงแบบ 12 ชั่วโมง โดยไม่มีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "1" ถึง "12"
G เลขชั่วโมงแบบ 24 ชั่วโมง โดยไม่มีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "0" ถึง "23"
h เลขชั่วโมงแบบ 12 ชั่วโมง โดยมีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "01" ถึง "23"
H เลขชั่วโมงแบบ 24 ชั่วโมง โดยมีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "00" ถึง "23"
i เลขนาที นั่นคือ "00" ถึง "59"
j วันที่ โดยไม่มีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "1" ถึง "31"
l ชื่อเต็มของวันในสัปดาห์ เช่น "Sunday" , "Monday" เป็นต้น
L ค่าตรรกะที่แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่ระบุมี 29 วันหรือไม่
โดย "1" หมายถึง มี 29 วัน ,"0" หมายถึงมี 28 วัน
m หมายเลขของเดือน โดยมี 0 นำหน้า นั่นคือ "01" ถึง "12"
M ชื่อเดือน เฉพาะตัวอักษร 3 ตัวแรก เช่น "Jan" , "Feb" เป็นต้น
n หมายเลขของเดือน โดยไม่มีศูนย์นำหน้า นั่นคือ "1" ถึง "12"
r วัน/เวลาในรูปของ RFC 822 เช่น "Thu, 21 Dec 2000 21:23:05 +0200" เป็นต้น
s เลขวินาที นั่นคือ "00" ถึง "59"
S ตัวหนังสือย่อของเลขวันที่ลงท้ายในภาษาอังกฤษ เช่น ลงท้ายด้วยเลข 1st 2rd เป็นต้น
t จำนวนวันของเดือนคือ 28 และ 31
T เขตเวลา (timezone) เช่น "MDT" , "EST" เป็นต้น
U จำนวนวินาทีทั้งหมดนับตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2513
w หมายเลขของวันในสัปดาห์ นั่นคือ "0" (วันอาทิตย์) ถึง "6" (วันเสาร์)
y เลขปีแบบ 2 หลัก เช่น "02" เป็นต้น
Y เลขปีแบ 4 หลัก เช่น "2002" เป็นต้น
z หมายเลขของวันภายในปี นั่นคือ "0" ถึง "365"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น